มาทำความรู้จักกับน้ำมันเชื้อเพลิงกันหน่อย!

มาทำความรู้จักกับน้ำมันเชื้อเพลิงกันหน่อย!
ปัจจุบันน้ำมันในประเทศไทยมีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้รถและความต้องการของผู้ใช้ เราจึงต้องมาทำความรู้จักน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันเชื้อเพลิง หมายถึง ของเหลวที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ หลังจากนั้นจึงนำมาปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมต่อการใช้งาน เพื่อใช้เผาให้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ เครื่องเทอร์ไบน์ หรือใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ต้มน้ำในหม้อไอน้ำ (Boiler) ใช้ในเตาอบเครื่องปั้นดินเผา หรือในโรงงานเซรามิก และใช้ในการทำความร้อน ให้แสงสว่าง เป็นต้น โดยทั่วไปน้ำมันเชื้อเพลิงที่จำหน่ายในสถานีบริการ จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์เบนซิน
2.น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องยนต์ดีเซล

น้ำมันเบนซิน (GASOLINE)

น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงส่วนที่เบาที่สุด ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ส่วนนี้เรียกว่า แนฟธา (Naphtha) แล้วจึงนำมาปรับปรุงคุณภาพ ที่สำคัญคือการเพิ่มค่าออกเทนน้ำมันเบนซินปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ น้ำมันเบนซินรถยนต์ (Motor Gasoline) และน้ำมันเบนซินอากาศยาน (Aviation Gasoline) ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีข้อแตกต่างกันตรงที่น้ำมันอากาศยานจะมีค่าออกเทนสูง กว่าน้ำมันเบนซินรถยนต์มาก

เบนซิน ออกเทน 95

สุดยอดน้ำมันแห่งยานยนต์ด้วยคุณสมบัติที่สามารถจะใช้ได้กับรถยนต์แทบทุกประเภท เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ พร้อมมีค่าออกเทนสูง การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ ทำให้ เบนซิล ออกเทน 95 เป็นน้ำมันที่ตอบสนองการขับได้ดีที่สุด ทว่าก็ต้องแลกมากับค่าตัวที่สูงกว่าน้ำมันชนิดอื่น นั่นเอง

เบนซิน ออกเทน 91

มีความคล้ายคลึงกับเบนซิน ออกเทน 95 ทว่าเป็นเวอร์ชั่นที่ถูกลดคุณภาพลงมาเล็กน้อย แต่ยังคงไม่มีส่วนผสมของเอทิลแอลกอฮอล์ใด ๆ แม้จะมีค่าออกเทนน้อยกว่าจนส่งผลทำให้การตอบสนองการขับขี่ไม่ดีเท่าออกเทน 95 แต่เมื่อใช้จริงก็แทบจะไม่ต่างกันเท่าใดนัก ยกเว้นตั้งใจตรวจสอบและดูอย่างละเอียดจริงๆ

น้ำมันชนิด เบนซิน ออกเทน 91 สามารถเติมได้กับ รถยนต์ทุกประเภทที่ไม่ได้ระบุว่า เติมน้ำมันชนิด เบนซิน ออกเทน 95 เท่านั้น

การเพิ่มค่าออกเทนของน้ำมัน โดยทั่วไปมีอยู่ 2 วิธี

1. เติมสารตะกั่ว ซึ่งเป็นสารประกอบที่ควบคุมปฏิกิริยาการเผาไหม้ของน้ำมนเบนซิน เป็นวิธีการที่ประหยัดและสารประกอบ ของตะกั่วที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ TEL หรือ TML (Tetraethyl lead หรือ Tetramethyl Lead)

2. ไม่เติมสารตะกั่ว

2.1 ปรับปรุงขบวนการกลั่น เช่น ขบวนการไอโซเมอไรเซชั่น (Isomerrization) โดยการเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของแนฟธา (Naphtha) ให้มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นแบบโซ่กิ่ง (Iso – chain หรือ Branch chain) มากขึ้น
2.2 การเติมสารที่มีค่าออกเทนสูง เรียกว่า ออกเทนบูสเตอร์ (Octane Booster) ตัวอย่างเช่น

– เมทธิลแอลกอฮอล์ ค่าออกเทน (RON) 106
– เอทธิลแอลกอฮอล์ ค่าออกเทน (RON) 106
– เทอร์เทียรีเอมิลเมทธิลอีเธอร์ ค่าออกเทน (RON) 108
– โทลูอีน ค่าออกเทน (RON) 114
– เมทธิลเทอร์เทียรีบิวธิลอีเธอร์ ค่าออกเทน (RON) 117
– เอทธิลเทอร์เทียรีบิวธิลอีเธอร์ ค่าออกเทน (RON) 118
– สารที่นิยมใช้ในขณะนี้ได้แก่ เมทธิลเทอร์เทียรีบิวธิลอีเธอร์

สำหรับน้ำมันเบนซินที่ขายอยู่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันดีเซล โดยสามารถจำแนกน้ำมันที่ขายตามท้องตลาดได้ ประมาณ 7 ประเภท ประกอบด้วย

1.น้ำมันเบนซินธรรมดา (regular) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 91 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 91
2.น้ำมันเบนซินพิเศษ (premium) หรือน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทน 95 ประกอบด้วยส่วนผสมจากน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว และค่าออกเทน 95 ปัจจุบันน้ำมันประเภทนี้ยกเลิกการจำหน่ายไปแล้วหลายแห่ง
3.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 91 ธรรมดา ได้ โดยมีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิล แอลกอฮอล์ มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 91 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วนผลดีต่อเครื่องยนต์ ไม่มีผลกระทบต่อสมรรถนะเครื่องยนต์ และอัตราการเร่ง ไม่แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 91 สามารถเติมผสมกับน้ำมันเบนซินที่อยู่ในถังได้เลย และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์
4.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถใช้ทดแทนน้ำมันเบนซิน 95 ธรรมดาได้มีส่วนผสมระหว่างเอทานอลหรือเอทิลแอลกอฮอล์มีความบริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซิน 95 ในอัตรา ส่วน น้ำมัน 9 ส่วน เอทานอล 1 ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 แตกต่างจากน้ำมันเบนซิน 95 โดยน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ผลิตจากน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ผสมกับเอทานอลซึ่งเป็นตัวเพิ่มค่าออกเทน ทำให้ได้แก๊สโซฮอล์ที่มีออกเทนเท่ากับน้ำมันเบนซิน 95 ที่ใช้สาร MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) เป็นสารเพิ่มค่าออกเทนแต่สาร MTBE มีข้อเสียคือ ทำให้เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินและน้ำดื่ม
5.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 85 คือ นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอ ฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 15% ต่อเอทา นอล 85% ได้เป็นน้ำมัน
6.น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 นํ้ามันที่มีส่วนผสมน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการนำน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วผสมกับเอทานอล หรือเอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ในอัตราส่วน เบนซิน 80% ต่อเอทานอล 20%
7.ไบโอดีเซล คือ น้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์ รวมทั้งน้ำมันใช้แล้วจากการปรุงอาหารนำมาทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแอลกอฮอล์ เรียกอีกอย่างว่าสารเอสเตอร์ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซลมาก
8.ก๊าซ LPG หรือ ก๊าซหุงต้ม เป็นก๊าซที่ได้จากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติและขบวนการกลั่นน้ำมันเป็น สารประกอบพวกไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยก๊าซโปรเปน ( Propane ) และบิวเทน ( Butane ) เป็นส่วนประกอบหลัก มีคุณสมบัติหนักกว่าอากาศประมาณ 1.5 – 2 เท่า ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่เป็นพิษ จึงต้องเติมกลิ่นเหม็น ( Ethyl Mercaptan ) ลงไปเพื่อให้รู้ว่าก๊าซรั่ว ซึ่งอาจทำให้ติดไฟได้และขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูง ( จากสถานะของเหลวกลายเป็นไอ ขยายตัวประมาณ 250 เท่า ) จะมีสถานะเป็นไอที่อุณหภูมิปกติและความดันบรรยากาศ มีออกเทน 105 – 110 ก๊าซ LPG 1 ลิตร หนักประมาณ 0.5 กิโลกรัม LPG เมื่อเผาไหม้จะมีมลภาวะต่ำกว่าน้ำมัน ( สะอาดกว่าน้ำมัน )
9.ก๊าซ NGV (Natural Gas for Vehicle: NGV) มีภาษาเชิงวิชาการว่า ก๊าซซีเอ็นจี (Compressed Natural Gas: CNG) คือ ก๊าซธรรมชาติที่มี “มีเทน” เป็นส่วนประกอบหลักและถูกอัดจนมีความดันสูง ซึ่งในบางประเทศเรียกว่า “ก๊าซธรรมชาติอัด” (ซีเอ็นจี) ซึ่งถูกอัดที่แรงดัน 200 bar หรือ 3,000 psi และถูกกักเก็บไว้ในถังบรรจุก๊าซธรรมชาติอัดที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษให้สามารถรองรับแรงดันได้ โดยมีสภาพเป็นก๊าซหรือไอที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ โดยมีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ จึงเบากว่าอากาศ เมื่อเกิดการรั่วไหลจะฟุ้งกระจายไปตามบรรยากาศอย่างรวดเร็ว จึงไม่มีการสะสมลุกไหม้บนพื้นราบ

น้ำมันดีเซล (DIESEL) น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งมี 2 ชนิด คือ น้ำมันดีเซล และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แต่ในสถานีบริการทั่วไป จะจำหน่ายเฉพาะน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเท่านั้น นอกจากนี้แล้ว หากคุณจะไม่ได้ใช้รถยนต์ของคุณมากกว่าหนึ่งเดือน เช่น ไปเที่ยวต่างประเทศ ไปทำงานต่างจังหวัด หรือเดือนนี้มีการเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าแทน คุณก็ไม่ควรจะเติมน้ำมันชนิดแก๊สโซฮอล์เด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำมันระเหย และเสียคาในเครื่องยนต์ของคุณได้ สุดท้ายแล้วก็อย่าลืมดูคู่มือรถยนต์ให้ดี ๆ ก่อนจะเติมนะครับ
สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ได้ที่ ThaiCarNews.Com

แสดงความคิดเห็น